การตีพิมพ์ พระอภัยมณี

การตีพิมพ์

เรื่องพระอภัยมณีในยุคสมัยแรก เผยแพร่โดยการคัดลอกเนื้อเรื่องจากเล่มสมุดไทย 
ผู้คัดลอกจ่ายค่าเรื่องให้แก่ผู้แต่งจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทย เรื่อง พระอภัยมณี จึงได้ตีพิมพ์ครั้งแรกโดย 
หมอสมิท เมื่อปี พ.ศ. 2413 ออกจำหน่ายครั้งละ 1 เล่มสมุดไทย ราคาเล่มละ 25 สตางค์ 
กล่าวกันว่า เรื่องพระอภัยมณีโด่งดังมากจนหมอสมิธสามารถทำรายได้สูงขนาดสร้างตึกเป็นของตัวเองได้ 
หลังจากนั้นหมอสมิทและเจ้าของโรงพิมพ์อื่นๆ ก็พากันหาผลงานเรื่องอื่นของสุนทรภู่มา
ตีพิมพ์จำหน่ายซ้ำอีกหลายครั้งความสำเร็จในการพิมพ์จำหน่ายเรื่อง พระอภัยมณี ครั้งนั้น 
ทำให้หมอสมิทออกตามหาทายาทของสุนทรภู่ และได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ทายาทของสุนทรภู่ที่
ยังมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น
       ในยุคต่อมา ราชบัณฑิตยสภาได้ชำระและจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี ขึ้นใหม่ 
โดยมีการพิมพ์ครั้งแรกเป็น 3 เล่มจบ เล่มที่หนึ่งพิมพ์ตั้งแต่ตอนที่ 1-26 เล่มที่สองพิมพ์ตั้งแต่ตอนที่ 27-46 
กในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวง         นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2468 ส่วนเล่มที่สามพิมพ์ตั้งแต่ตอนที่ 47-64 ออกในงานบำเพ็ญพระกุศลสิ้นพระชนม์
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2468 เช่นเดียวกัน หลังจากนั้นกรมศิลปากรได้อนุญาตให้จัดพิมพ์อีกหลาย
ครั้งโดยสำนักพิมพ์ต่างๆ กันหลายแห่ง เช่น สำนักงานไทยบรรณาคาร สำนักพิมพ์อุดม 
องค์การค้าของคุรุสภา สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร เป็นต้น 
       การตีความ
สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ ได้วิเคราะห์และตีความเรื่องพระอภัยมณีไว้ในหนังสือ 
สุนทรภู่ เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต ว่า 
พระอภัยมณีเป็นวรรณคดีการเมืองที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในขณะนั้น 
แต่สุนทรภู่ใช้กลวิธีแต่งเป็นนิทานกลอนปกปิดไว้อย่างแนบเนียน สามารถเห็นได้จากการที่ตัวละครเอก
ของเรื่องอย่างพระอภัยมณีที่ใช้ปี่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งหมายความว่าให้แก้ปัญหาด้วยสติปัญญา
และสันติภาพนั่นเอง
ในขณะที่ ทองแถม นาถจำนง นักคิด นักเขียน และคอลัมนิสต์สยามรัฐ 
ก็ได้วิเคราะห์เรื่องพระอภัยมณีไว้คล้ายคลึงกับสุจิตต์ คือพระอภัยมณีสะท้อนภาพยุคที่นักล่าอาณานิคมขยาย
อิทธิพลเข้ามาสู่สยาม นอกจากนี้ทองแถมยังระบุด้วยว่า สงครามระหว่างพระอภัยมณีกับนางละเวง
สะท้อนวิสัยทัศน์ของปราชญ์สยามในยุคนั้นที่เริ่มมองเห็นปัญหาจากการรุกรานของชาติตะวันตกชัดขึ้น 
และวิสัยทัศน์ที่สุนทรภู่เปลี่ยนเรื่องสงครามการรบเป็นสงครามรักนั้นน่าประทับใจมาก[12]
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้วิเคราะห์วรรณคดีเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่าการเป่าปี่ของพระอภัยมณี 
เป็นการคิดในเชิงปรัชญาพุทธ คือสุนทรภู่ให้พระอภัยมณีพอใจที่จะเรียนวิชาปี่ แทนที่จะให้ชำนาญอาวุธต่างๆ 
และยังให้พระอภัยมณีเป็นคนรูปงาม อ่อนแอ อ่อนโยน รักและมีความรู้เสียงดนตรี
 รู้จักใช้ดนตรีในการกล่อมใจคนและฆ่าคน ในลักษณะนี้พระอภัยมณีเป็นตัวละครที่สุนทรภู่สร้างขึ้นมา
เพื่อให้รู้จักวิสัยของมนุษย์ปุถุชนที่ยังหลงในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส และเอารูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนั้นมา
เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ในตอนท้ายพระอภัยมณีออกบวช ซึ่งสามารถตีความได้ว่า 
พระอภัยมณีเบื่อหน่ายในเรื่องโลกียสุข จึงละปัญญาในระดับโลกียะ ไปแสวงหาปัญญาในระดับโลกุตตระแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น